บริการตรวจเช็คระบบของก๊าซ ของเหลวและของไหลหน้างาน (Swagelok Onsite Inspection Services)
บริการตรวจเช็คระบบก๊าซ ของเหลวหน้างาน (Swagelok Onsite Services)
งานบริการตรวจเช็คหน้างาน (Onsite Inspection Services) ของสเวจล็อค ไทยแลนด์ เราให้บริการตรวจเช็คระบบก๊าซ ของเหลวหรือของไหล (Fluid System) อื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมถึงช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ (Efficiency) การทำงานของระบบให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหา Downtime
โดยทีมวิศวกรที่มีความรู้และประสบการณ์ของสเวจล็อค จะเข้าตรวจเช็คหน้างาน เพื่อตรวจสอบจุดที่มีความเสี่ยงในระบบ Fluid System และรายงานผลการตรวจเช็ค (Inspection Report) ให้คำแนะนำและแนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงจัดทำรายการ (Part Number) ของอุปกรณ์ในระบบ (Material List) ที่จำเป็นต้องใช้ในการเข้าบำรุงรักษาระบบ เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลที่ได้จากรายงานไปใช้ในการวางแผน Shutdown/Turnaround หรือวางแผนในการเข้าบำรุงรักษาระบบ (Maintenance) นอกจากนี้ข้อมูลในรายงานจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดขอบข่ายในการบำรุงรักษา และควบคุมงบประมาณให้เป็นไปตามต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
บริการตรวจเช็คระบบก๊าซและของไหลที่หน้างาน มีให้เลือกใช้บริการ 3 รูปแบบ:
1. บริการตรวจเช็คระบบ Fluid System แบบเต็มรูปแบบ (Fluid System Evaluation & Advisory Services)
2. บริการตรวจเช็คระบบสายอ่อน/ท่ออ่อน (Hose Advisory Services, HAS)
3. บริการตรวจเช็คการรั่ว เพื่อตรวจวัดพลังงานที่สูญเสียไปในระบบ (Energy Survey Program, ESP)
1. บริการตรวจเช็คระบบ Fluid System แบบเต็มรูปแบบ (Fluid System Evaluation and Advisory Services, FSEAS)
บริการตรวจเช็คระบบ Fluid System แบบเต็มรูปแบบ (Fluid System Evaluation & Advisory Services) คือ บริการตรวจสอบระบบ Fluid System นอกสถานที่แบบครบวงจร โดยวิศวกรฝ่ายเทคนิคของเราจะเข้าพื้นที่ที่ต้องการให้ตรวจสอบและประเมินระบบ Fluid System เพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติและแก้ไขเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รวมถึงสรุปรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผน Shutdown/Turnaround หรือแผนการบำรุงรักษาระบบ (Maintenance Plan) โดยขอบข่ายที่ทำการตรวจประเมิน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
การตรวจสอบการรั่ว (Leakage)
การตรวจสอบหาจุดรั่ว โดยใช้น้ำยาตรวจรั่ว (Liquid leak detection) และปืนอัลตราโซนิก (Ultrasonic Gun) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาแนวทางป้องกันการสูญเสียเงินหรือพลังงาน (Lost) รวมไปถึงป้องกันความเสี่ยงจากเหตุไม่คาดคิด (Unsafety issue)
การติดตั้งที่ไม่เหมาะสม (Improper Installation)
การตรวจสอบการติดตั้งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน เช่น การขันข้อต่อไม่ครบรอบ (Under tight) หรือขันแน่นเกินไป (Overtight) การใส่ตาไก่กลับด้าน, ตัดท่อไม่ลบคม, การใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการใช้ข้อต่อหรือท่อต่างขนาดกัน ผสมปนเปกัน (Mix Size) โดยทีมวิศวกรจะทำการตรวจสอบทั้งด้วยการทำ Visual Check และใช้เกจ (Inspection Gauge) ในการตรวจสอบ
การตรวจสอบการกัดกร่อน (Material Corrosion)
เป็นการตรวจสอบการกัดกร่อนที่เกิดขึ้น รวมถึงวัดระดับขอการกัดกร่อนโดยใช้วิธีการวัดความหนาของพื้นผิวด้วย Thickness Gauge เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการกัดกร่อน เพราะเมื่อวัสดุเกิดการกัดกร่อน ความสามารถในการรับแรงดันจะลดน้อยลง และอาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ในหลายส่วน
2. บริการตรวจเช็คระบบบสายอ่อน/ท่ออ่อน (Hose Advisory Services, HAS)
ในบางพื้นที่ ที่อาจมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสายอ่อน/ท่ออ่อน (Hoses) ทีมานจะให้คำแนะนำในการเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับการใช้งานที่เฉพาะทางของคุณ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ผลลัพธ์โดยรวมพร้อมข้อเสนอแนะในกรณีที่คุณอาจต้องเปลี่ยนท่อใหม่ วิศวกรฝ่ายบริการทางเทคนิคนอกสถานที่ของเราจะแนะนำตัวเลือกท่อที่เหมาะกับการใช้งานเฉพาะเพื่อคุณ
3. บริการตรวจเช็คการรั่ว เพื่อตรวจวัดพลังงานที่สูญเสียไปในระบบ (Energy Saving Program, ESP)
บริการนี้มีประโยชน์ต่อคุณอย่างไร?
เมื่อวิศวกรฝ่ายเทคนิคของเราดำเนินการตรวจสอบ (Inspection) ระบบแล้ว จะทำการติดแท็กสี (Color Tag) ในจุดที่ตรวจพบความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการรั่ว (Leakage) การติดตั้งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน (Improper Installation) หรือตรวจพบการกัดกร่อน (Corrosion) โดยสีของแท็ค จะถูกจัดลำดับความสำคัญตามระดับความเสี่ยง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการบำรุงรักษา (Maintenance) ต่อไป
นอกจากนี้ คุณจะได้รับรายงานการตรวจสอบ (Inspection Report) อย่างละเอียด โดยรายงานการตรวจสอบจะใช้เป็นรูปแบบรายงานของทางสเวจล็อค หรือทำในรูปแบบของคุณ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใข้ในการวางแผน Shutdown/Turnaround หรือเข้าบำรุงรักษา (Maintenance) ต่อไป โดยในรายงานจะประกอบไปด้วย:
1. รายงานโดยละเอียดของปัญหาโดยรวม พร้อมแท็กแสดงตำแหน่ง และระดับความเสี่ยง
2. ภาพถ่ายเพื่อระบุตำแหน่งที่ตรวจพบปัญหาอย่างชัดเจน
3. แนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมถึงรหัสสินค้า (Part Number) ที่จำเป็นต้องเปลี่ยน
4. รายงานสามารถแบ่งได้ตามพื้นที่ (Area) หรือชนิดของปัญหาที่ตรวจพบ (Categories)
รายงานการตรวจสอบ (Inspection Report) ที่มีการกลุ่มความผิดปกติที่ตรวจพบตามระดับความเสี่ยง (risk-based approach) จะช่วยให้คุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการบำรุงรักษา (Maintenance), หรือวางแผน Shutdown/Turnaround เพื่อจัดลำดับงานที่มีความสำคัญได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น